เหตุผลที่ผมไม่แนะนำให้ลูกค้าของผมทำ ประกันสุขภาพ

เหตุผลที่ผมไม่แนะนำให้ลูกค้าของผมทำ
#ประกันสุขภาพ

ผมจะอธิบายให้ลูกค้าได้เข้าใจโครงสร้างและจุดประสงค์
ของแบบประกันสุขภาพให้เข้าใจก่อนว่า
*ประกันสุขภาพมีโครงสร้างคร่าวๆคือ
1.#ประกันสุขภาพถูกออกแบบมาเพื่อ
>หากป่วย ลูกค้าต้องการรักษาแบบไหน
>หากต้องนอนโรงพยาบาล ลูกค้าต้องการนอนห้องแบบไหน ระหว่างนอนลูกค้าอยากได้เงินค่าเสียโอกาสในการหาเงิน(เงินชดเชยรายวัน)หรือเปล่า ถ้าอยากได้ อยากได้เท่าไหร่
>การรักษาพยาบาล ลูกค้าต้องการการรักษาแค่ไหน
> อื่นๆ ต่างๆ รายละเอียดอีกมากมาย

ที่สำคัญเลย “ถ้าจะทำประกันสุขภาพ ต้องทำตอนที่ยังไม่ป่วย เพราะถ้าป่วยแล้วจะทำไม่ได้ หรือถ้าทำได้ เบี้ยประกันก็จะสูงกว่าปกติ บางกรณีมีการลดทุนประกัน แต่เพิ่มเบี้ยกันเลย”

#ถ้าลูกค้าอยากทำประกันสุขภาพพร้อมกับการเก็บเงิน
**#ผมจะไม่แนะนำให้ทำในกรมธรรม์เล่มเดียว
**#ผมจะแนะนำให้ลูกค้าผมทำแยกเล่มเลย

น่าเสียดายถ้าคุณได้รู้ก่อนคุณคงเลือกทำประกันได้ดีกว่านี้

เพราะเหตุผลคือ
**การทำประกันสุขภาพกับการทำประกันแบบเก็บเงิน(เงินออม)
จุดประสงค์มันแตกต่างกัน
**ถ้าลูกค้าอยากเก็บเงิน ออมเงิน #จะมีระยะเวลาคุ้มครองให้เลือกเพียงสั้นๆ เช่น
5/10 คือ ส่งเงินที่จะออม/ต่อปี 5 ครั้ง คุ้มครองถึง 10 ปี
พอถึง 10 ปี ลูกค้าปิดเล่มกรมธรรม์ บริษัทประกันจ่ายเงินคืนให้ลูกค้า (ตามที่ตกลงในเงื่อนไข) ความคุ้มครองสิ้นสุด จบ.
(ซึ่งจะมีแบบประกันให้เลือหลายช่วงเวลาเช่น 5/15,10/15,15/25,15/30 อะไรประมาณนี้)

ที่สำคัญถ้าแยกทำ #ประกันแบบเงินออมไม่ต้องตรวจสุขภาพสามารถทำได้เลย

**ถ้าจะทำประกันสุขภาพจริงๆ ผมจะแนะนำให้ทำประกันชีวิตหลักแล้วเลือกแนบประกันสุขภาพตามที่ต้องการจะเหมาะสมและคุ้มค่ากว่า
>>เพราะประกันสุขภาพ ถูกออกแบบมาโดยล้อกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงๆ คือ
•• ทุกคนสามารถป่วยได้ตลอดเวลาในแต่ละช่วงชีวิต
•• ความคุ้มครองจะยาวนาน ตลอดช่วงชีวิตเฉลี่ยเลย
สมมุติว่า
เด็กอายุ 6 เดือน เริ่มทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพ
พ่อกับแม่จะจ่ายเบี้ย/ปี แค่ 20 ครั้ง พอเด็กอายุครบประมาณ 20 ปี พ่อกับแม่ก็หยุดจ่ายเบี้ยประกัน แต่บริษัทประกันยังคุ้มครองเด็กคนนี้จนเด็กมีอายุถึง 99\ปีเลย เป็นต้น

เมื่อเทียบกับ การทำประกันแบบออมเงิน แบบ 15/20 (ตัวอย่าง)
คือพ่อกับแม่วางแผนเก็บเงินให้เด็กคนนี้
พ่อกับแม่จ่ายเบี้ยปีละครั้ง ส่งเบี้ยจำนวน 15 ครั้ง ก็ไม่ต้องจ่ายอีก
เมื่อเด็กคนนี้อายุครบ 30 ปี ก็ปิดกรมธรรม์ (สามารถที่จะปิดกรมธรรม์ได้ก่อน 30 ปี) ก็เป็นการสิ้นสุดสัญญา

#ถ้ากรณีระหว่างทาง เด็กเกิดสุขภาพไม่แข็งแรง จะไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้ และ #ช่วงเวลาจากที่เริ่มทำประกันแทนที่จะคุ้มครองให้ยาวนานถึงอายุ99ปี กับคุ้มครองเท่าอายุสัญญาของประกันเงินออม แค่ 30 ปี ช่วงเวลาที่หายไป (99-30 =69 ปี) มันน่าเสียดาย ไม่คุ้มเลย

2.#ประกันแบบเงินออม (#ออมทรัพย์,#สะสมทรัพย์)
ถูกออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์ คือการเก็บเงิน
#ให้นึกถึงการฝากเงินแบบประจำ(กระแสรายวัน,กระแสรายเดือน,กระแสรายปี ก็ว่าไป )ของธนาคาร
แนวคิดจะคล้ายๆ กัน คือฝากเงินทุกๆ วัน จนครบกำหนด ถึงจะสามารถเบิกถอนเงินใช้ได้
#แต่แบบประกันแบบเงินออมกับการฝากเงินแบบประจำของธนาคารจะแตกต่างกันเพียงไม่กี่ข้อคือ
>> #ฝากเงินกับธนาคาร หากผู้ฝากเสียชีวิต ก็จะได้แค่เงินที่ฝากบวกกับดอกเบี้ยตามที่ธนาคารนั้นๆกำหนด
>> #ทำประกันแบบเงินออมกับบริษัทประกัน จะคุ้มครองชีวิตของผู้ทำประกันตลอดสัญญาเลย เช่น ฝากเงินรายปี 15 ครั้ง คุ้มครองถึง 30 ปี(15/30) สมมุติผู้ทำประกันเสียชีวิตระหว่างทาง อาจจะปีที่ 3-4 (ช่วงไหนก็ได้ 1-30 ปี) ผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับเงินคืน ตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ ที่ตกลงทำกันไว้เลย

และที่สำคัญอีก 1 ข้อ สำคัญเลย คือ
“ ถ้ากรณีผู้ทำประกัน #เสียชีวิต เงินที่บริษัทประกันสั่งจ่ายให้ผู้รับผลประโยชน์นั้น #ลูกหนี้จะไม่สามารถเรียกร้องเงินส่วนนี้จากผู้รับผลประโยชน์ไปได้ทุกกรณี “
โดยอาจจะอ้างว่า ผู้ทำประกันเป็นหนี้ตัวเองเท่านั้นเท่านี้ ต้องให้ผู้รับผลประโยชน์จ่ายให้ตามจำนวน กรณีแบบนี้ #ลูกหนี้ไม่สามารถทำได้(ตามกฏหมายที่กำหนดไว้คือทำไม่ได้ทุกกรณี)

ซึ่งต่างจากเงินฝากที่ฝากกับธนาคาร ที่ลูกหนี้สามารถทำได้ แอบอ้างได้

>> และลูกค้าผมก็จะเข้าใจสิ่งที่ผมพยายามจะอธิบาย เพราะมันเป็นผลประโยชน์ของลูกค้าผมที่ควรจะได้รับจริงๆ

ยังมีรายละเอียดอีกมากมายเกี่ยวกับการทำประกันที่อยากเล่าให้ทุกคนเข้าใจแบบง่ายๆ และถูกต้อง. จะได้เข้าใจการทำประกันให้ชัดเจนขึ้นครับ

#หวังใจไว้ครับว่าข้อมูลนี้จะพอมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยครับ

#ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ
#อย่าพึ่งท้อและอย่ายอมแพ้อะไรง่ายๆ